Wednesday, August 10, 2011

ควรซื้อโทรทัศน์แบบไหนดี



พลาสมา

นักตกแต่งภายในชอบโทรทัศน์ชนิดนี้มาก เพราะมีรูปร่างเพรียวและสามารถแขวนกับผนังห้องได้
ข้อดี ขนาดบางมาก ไม่ถึงสิบเซนติเมตร จอภาพมีขนาดใหญ่มาก ให้มุมรับชมกว้าง แสดงความสว่างของภาพและความแตกต่างระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างได้ดีมาก
ข้อเสีย แพงกว่าโทรทัศน์ประเภทอื่น จอภาพอาจไหม้ได้ถ้าแสดงภาพนิ่งนานๆ กินไฟ หนัก อาจต้องใช้สองคนยก ดังนั้น ควรแน่ใจว่าผนังจะรับน้ำหนักไหว

ราคา เมื่อห้าปีก่อน ราคาสูงกว่า 400,000 บาท ปัจจุบัน ราคาประมาณ 290,000 บาท หรือถูกกว่านั้น





แอลซีดี หรือโทรทัศน์จอผลึกเหลว

มีลักษณะเหมือนโทรทัศน์พลาสมา แต่โดย ทั่วไปจะเล็กกว่า
ข้อดี เสี่ยงเกิดจอไหม้น้อยกว่า โดยทั่วไป กินไฟน้อยกว่าโทรทัศน์พลาสมา มีขนาดบางมาก ไม่กินที่ และใช้เป็นจอคอมพิวเตอร์ได้
ข้อเสีย ราคาอาจแพง จอภาพมีขนาดเล็กกว่า ภาพอาจเลือนถ้าไม่ได้ชมอยู่ตรงหน้าจอภาพ

ราคา มีราคาสูงถึงประมาณ 400,000 บาท แม้ว่าราคาจะตั้งต้นที่ประมาณ 30,000 บาท





โทรทัศน์ที่ใช้หลอดภาพ


คือโทรทัศน์แบบดั้งเดิมที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็ก และเป็นโทรทัศน์ประเภทแรกตั้งแต่เริ่มมีโทรทัศน์
ข้อดี ภาพมีคุณภาพดีมาก โดยทั่วไปจะมีราคาถูกที่สุด มีให้เลือกมากมายหลายชนิด ทำให้เลือกซื้อได้คุ้มค่าที่สุด
ข้อเสีย อาจมีขนาดใหญ่เทอะทะและหนัก แต่ก็ขึ้นกับขนาดที่เลือกซื้อ

ราคา เริ่มตั้งแต่ประมาณ 3,600 บาทสำหรับโทรทัศน์เครื่องเล็กจนถึงประมาณ 60,000 บาท









เครื่องฉายภาพ

โทรทัศน์แบบนี้ทำงานคล้ายโรงภาพยนตร์ กล่าวคือฉายภาพข้ามห้องไปตกอยู่บนผนังหรือฉาก
ข้อดี จอภาพมีขนาดใหญ่ที่สุด อาจกว้างหกเมตรหรือมากกว่านั้นราวกับคุณมีโรงภาพยนตร์ส่วนตัวทีเดียว
ข้อเสีย อาจติดตั้งยาก ต้องชมในห้องที่มืด ต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ เปลี่ยนหลอดไฟเป็นประจำ และหลอดไฟอาจมีราคาแพง

ราคา ตั้งแต่ประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป






โปรเจ็กชันทีวี

เป็นโทรทัศน์ที่มีจอภาพขนาดใหญ่ มีลักษณะเหมือนตู้ เป็นโทรทัศน์ที่มีจอภาพขนาดใหญ่ที่สุด
ในบรรดาโทรทัศน์ราคาเดียวกัน
ข้อดี คุ้มค่ามาก
ข้อเสีย เป็นสิ่งใหญ่ที่สุดในห้อง มีขนาดเทอะทะและเคลื่อนย้ายยาก มีมุมรับชมจำกัด หลอดไฟที่ต้องเปลี่ยนมีราคาแพง

ราคา ตั้งแต่ 35,000 ถึง 140,000 บาท


ที่มา: http://www.readersdigestthailand.co.th/article/2034

Monday, August 8, 2011

จอภาพผลึกเหลว(LCD)

จอภาพผลึกเหลว(LCD)

จอภาพผลึกเหลว (อังกฤษ: Liquid crystal display หรือ LCD) เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่

แต่ละพิกเซลของจอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง

ก่อนที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็กจิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว

เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป

โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ


ชนิดของจอภาพ


    TN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)

    IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย

จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ไกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว

    MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก

    PVA เป็นการพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7

Saturday, August 6, 2011

เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT

จอภาพ (Monitor)


            จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ
แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา
เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร
ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้
และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต    
   
            การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ

            จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

           LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม

   
              สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ
             Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
             Thin Flim Transistor (TFT)
              จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN

เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT 


ข้อควรจำ
             ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอเสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ

ที่มา: www.chakkham.ac.th

Friday, August 5, 2011

จอภาพ

จอภาพ หรือ วีดียู (อังกฤษ: visual display unit: VDU) หรือชื่ออื่นเช่น จอคอมพิวเตอร์ จอคอม จอมอนิเตอร์ มอนิเตอร์ จอแสดงผล จอภาพแสดงผล จอภาพแสดงผลคอมพิวเตอร์ จอทีวี จอโทรทัศน์ ฯลฯ คือส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสดงรูปภาพให้เห็นจากอุปกรณ์ที่สามารถส่งออกวิดีโอ เช่นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งรูปภาพที่ปรากฏสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้และไม่คงอยู่อย่างถาวร จอภาพประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ที่แสดงผลให้เห็น และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในที่สร้างรูปภาพจากสัญญาณวิดีโอ อุปกรณ์ที่แสดงผลยุคใหม่จะเป็นจอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (thin film transistor liquid crystal display: TFT-LCD) และจอภาพยุคก่อนเป็นหลอดภาพรังสีแคโทด (cathode ray tube: CRT)
เนื้อหา

ขนาดของจอภาพ


สำหรับรูปสี่เหลี่ยมที่บรรจุในรูปวงกลม เส้นทแยงมุมจะยาวเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของรูปวงกลมด้วย

    ดูบทความหลักที่ ขนาดของจอภาพ และ มาตรฐานจอคอมพิวเตอร์

ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งของจอ ไปยังอีกมุมหนึ่งในแนวทแยงที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่ปัญหาหนึ่งของการวัดแบบนี้คือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจอภาพจะมีอัตราส่วนลักษณะ (aspect ratio) เท่าใด แม้ว่าจะมีขนาดทแยงมุมเท่ากัน เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมีพื้นที่น้อยกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเมื่อกำหนดให้เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน ตัวอย่างเช่น จอภาพ 21 นิ้วในอัตราส่วน 4:3 มีพื้นที่ประมาณ 211 ตารางนิ้ว ในขณะที่จอภาพไวด์สกรีน 21 นิ้วในอัตราส่วน 16:9 จะมีพื้นที่แสดงผลเพียง 188 ตารางนิ้วเท่านั้น

การวัดด้วยวิธีนี้มาจากโทรทัศน์แบบหลอดภาพชนิดเริ่มแรก เนื่องจากหลอดภาพในสมัยนั้นเป็นรูปวงกลมโดยปกติ เมื่อเอ่ยถึงขนาดของหลอดภาพก็เพียงวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของรูปวงกลม และเมื่อหลอดภาพวงกลมต้องแสดงภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม การวัดระยะเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมก็เทียบเท่ากับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดภาพเพื่อให้ภาพเต็มจอพอดี วิธีการนี้ก็ยังใช้กันเรื่อยมาแม้ว่าหลอดภาพจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมโค้งมนแทน

อีกปัญหาหนึ่งคือการวัดขนาดหน่วยแสดงผลของจอภาพโดยตรง ซึ่งเป็นขนาดเพื่อการโฆษณาสินค้าและพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะกับหลอดภาพรังสีแคโทด จะมีหน่วยแสดงผลส่วนหนึ่งซึ่งถูกบดบังตามขอบจอเพื่อซ่อนส่วนที่อยู่นอกพื้นที่ปลอดภัย เรียกว่าโอเวอร์สแกน (overscan) ดังนั้นขนาดที่ได้เห็นจริงจึงมีพื้นที่น้อยว่าขนาดที่โฆษณาอยู่เล็กน้อย ลูกค้าที่ซื้อไปใช้รู้สึกว่าถูกหลอกจึงมีการร้องเรียนอย่างกว้างขวาง และหลายคดีก็ตัดสินว่าให้ผู้ผลิตจอภาพต้องวัดขนาดพื้นที่ที่แสดงผลได้จริง แทนที่จะวัดจากขนาดของหลอดภาพ

เทคโนโลยีการฉายภาพ
จอคอมพิวเตอร์แบบหลอดภาพ 19 นิ้วของวิวโซนิก (หลอดภาพขนาด 48.3 ซม. มองเห็นได้ 45.9 ซม.) ดูคล้ายโทรทัศน์

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันหลายอย่าง มีขึ้นเพื่อใช้ส่งออกภาพวิดีโอที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์

    จอภาพผลึกเหลว (LCD)
        จอภาพผลึกเหลวแบบส่องไฟผ่าน (passive LCD) เคยใช้ในแล็ปท็อปจนถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วยมีข้อเสียที่ว่ามีความคมชัดต่ำและตอบสนองช้า
        จอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (TFT-LCD) สามารถสร้างภาพได้ดีกว่า ปัจจุบันจอภาพผลึกเหลวแทบทั้งหมดเป็นประเภทนี้

    หลอดภาพรังสีแคโทด (CRT)
        จอภาพคอมพิวเตอร์แบบแรสเตอร์ สร้างภาพโดยใช้พิกเซลมาประกอบกัน เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมมากสำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นก่อน
        จอภาพคอมพิวเตอร์แบบเวกเตอร์ ใช้งานกับอุปกรณ์เรดาร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องเกมเวกเทรกซ์ (Vectrex) รวมไปถึงเกมตู้อย่างแอสเทอรอยด์ส (Asteroids) เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ระบบของการสะท้อน
        โทรทัศน์เคยใช้เป็นจอภาพให้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอประกอบ (composite video) (ขั้วกลมสีเหลือง) เข้ากับตัวกล้ำสัญญาณ (modulator) แต่คุณภาพและความละเอียดของภาพมักจะถูกจำกัดโดยความสามารถของโทรทัศน์นั้นเอง

    จอภาพพลาสมา
    เครื่องฉายภาพวิดีโอใช้ CRT, LCD, DLP, LCoS, และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อที่จะฉายภาพไปบนสกรีนฉายภาพ เครื่องฉายภาพด้านหน้าจะใช้สกรีนเป็นตัวสะท้อนแสงกลับมาสู่ผู้ชม ในขณะที่เครื่องฉายภาพด้านหลังใช้สกรีนเป็นตัวกระจายแสงให้หักเหออกไปข้างหน้า เครื่องฉายภาพด้านหลังกับสกรีนอาจรวมอยู่ในเครื่องเดียวกันอย่างโทรทัศน์

    จอภาพยิงอิเล็กตรอนบนตัวนำที่ผิวหน้า (surface-conduction electron-emitter display: SED)
    จอภาพไดโอดเปล่งแสงชีวภาพ (organic light emitting diode: OLED)
    จอภาพเพเนทรอน (penetron) ใช้กับอากาศยานทหาร

การวัดประสิทธิภาพ

การวัดระดับพิกเซล บนจอภาพที่จัดเรียงพิกเซลต่างกัน

ประสิทธิภาพของจอภาพสามารถวัดได้จากหลายปัจจัยดังนี้

    1. ความส่องสว่าง วัดในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร

    2. ขนาดของจอภาพ วัดความยาวตามแนวทแยง สำหรับหลอดภาพ บริเวณที่เห็นภาพมักจะเล็กกว่าขนาดของหลอดภาพอยู่หนึ่งนิ้ว

    3. อัตราส่วนลักษณะ คืออัตราส่วนของพิกเซลในแนวนอนต่อแนวตั้ง อัตราส่วนปกติคือ 4:3 เช่นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 768 พิกเซล ถ้าเป็นจอภาพไวด์สกรีน จะมีอัตราส่วนเป็น 16:9 ดังนั้นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 576 พิกเซล

    4. ความละเอียดจอภาพ คือจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ (ไม่ได้หมายถึงพิกเซลที่กำลังแสดงผลภาพอยู่ในปัจจุบัน) ความละเอียดที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยระดับพิกเซล (ดูถัดไป)

    5. ระดับพิกเซล คือระยะระหว่างพิกเซลสีเดียวกันในหน่วยมิลลิเมตร หากระดับพิกเซลน้อยลง ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น

    6. อัตรารีเฟรช คือจำนวนครั้งในหนึ่งวินาทีที่ภาพนั้นถูกฉายลงบนหน้าจอ อัตรารีเฟรชที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยเวลาตอบสนอง (ดูถัดไป)

    7. เวลาตอบสนอง คือเวลาที่ใช้ไปขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว และกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง วัดในหน่วยมิลลิวินาที ค่าที่น้อยลงหมายความว่าจอสามารถเปลี่ยนภาพได้เร็วขึ้น และหลงเหลือภาพก่อนหน้าน้อยกว่า

    8. อัตราส่วนความแตกต่าง คืออัตราส่วนความส่องสว่างของสีที่สว่างที่สุด (สีขาว) ต่อสีที่มืดที่สุด (สีดำ) ที่จอภาพนั้นสามารถสร้างได้

    9. การใช้พลังงาน วัดในหน่วยวัตต์

    10. มุมในการมอง คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น วัดในหน่วยองศาตามแนวดิ่งและแนวราบ

 ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E

Wednesday, August 3, 2011

ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์ในประเทศไทย



ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีก 3 ช่องดังต่อไปนี้

    สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์)
    สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี)
    สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา)

การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย

    สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60)
    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก - VHF Band-1 ช่อง 5 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 55 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556)
    สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7
    สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 58 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555)
    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11 (ปัจจุบันยังมีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายส่วนภูมิภาคออกอากาศเองได้ด้วย)
    สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี)

คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

    VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
    UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

    VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
    UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

    ระบบวีเอชเอฟ
    ระบบยูเอชเอฟ

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

    ระบบอีเอชเอฟ สำหรับผ่านดาวเทียม

ประเภทอื่น

    เคเบิลทีวี ใช้กับสายไฟเบอร์ออฟติกและดาวเทียม

ประเภทของโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอ โทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัด ให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่ง อาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง
ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ขนาดของโทรทัศน์
Low Definition Television 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p) 6 นิ้ว
Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) 8 นิ้ว
High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) 25 นิ้ว
Extreme High Definition Television 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p) 45 นิ้ว
Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) 50 นิ้ว
Ultra High Definition Television 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p) 100 นิ้ว
  • ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV)
  • เนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 เกือบทั้งหมดฉะนั้นจึงออกอากาศภาพแบบ 16:9 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ยังคงเป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานจนถึง พ.ศ. 2550
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงทั่วโลกเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เท่านั้น
  • UHDTV เป็นโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ปัจจุบันมีการออกอากาศที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เดียวในโลกของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โดยเรียกว่า Super-Hi Vision

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C

Monday, August 1, 2011

ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์


โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์



"โทรทัศน์" ถือกำเนิดมาเมื่อ 79 ปีก่อนแล้วก็กลายเป็นหนึ่งในสื่อที่ทรงอิทธิพลสูงสุดต่อการเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่วันแรกที่ถือกำเนิดมาตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้




ผู้ที่คิดค้นโทรทัศน์เครื่องแรกของโลกคือ ฟีโล เทย์เลอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ
 ชาวอเมริกัน ส่วน เอลมา การ์ดเนอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ นั้นเป็นภรรยาของนักประดิษฐ์คิดค้นผู้นี้ ที่ผู้เป็นสามีให
้เครดิตว่าเป็นทั้งผู้ผลักดัน และต่อสู้กับสิทธิในการคิดค้น
จนสามารถเรียกได้ว่า "เป็นผู้ร่วมคิดค้นโทรทัศน์"
เครื่องแรกของโลกร่วมกับเขา

ฟีโล ฟาร์นสเวิร์ธ เสียชีวิตไปเมื่อ ปี 2514 ส่วน เอลมา
 เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยวัย 98 ปี ข้อเขียนชิ้นนี้จึงเป็นเสมือนการรำลึกถึงบุคคลทั้งสองในฐานะ
นักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้หนึ่งของศตวรรษที่ผ่านมา ตามคำยกย่องของ
"ไทม์"
นิตยสารรายสัปดาห์ระดับโลกของสหรัฐอเมริกา


เอลมา ซึ่งแต่งงานกับ ฟีโล ที่เธอเรียกว่า "ฟิล" เมื่อปี 2469 ทั้งคู่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันในห้องทดลองที่เขต ฟอร์ต
 เวย์น นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
1 ปีให้หลัง วันที่ 7 กันยายน 2470 เมื่อฟิล ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 21 ปี สามารถส่งสัญญานภาพในรูปของเส้นหลายๆ เส้นจากเครื่องส่งที่คิดค้นขึ้นในห้องหนึ่งไปยัง
เครื่องรับที่อยู่ในห้องถัดไปได้สำเร็จ

"นี่ไงล่ะของคุณโทรทัศน์อีเลคทริค (electrica television)!"
 คือคำอุทานของ ฟิล กับภรรยาในเวลานั้น


เอลมา เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า แนวความคิดเรื่องการส่งสัญญาณภาพเป็นเส้นไปยังเครื่องรับนั้น เกิดขึ้นในห้วงความคิดของ ฟีโล ฟาร์นสเวิร์ธ ก่อนหน้าที่จะคิดค้นได้สำเร็จถึง 7 ปี ตอนนั้นเขายังอายุแค่ 14 ปี เป็นนักเรียนมัธยมที่ต้องขี่ม้าไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน
ที่ใกล้ที่สุดซึ่งอยู่ห่างจากไร่ของตนเองไปถึงราว 7 กิโลเมตร

เขากำลังไถร่องเป็นแนวยาวในไร่เพื่อใช้ปลูกมันฝรั่ง ความคิดวาบขึ้นในสมองของเขาว่าเขาสามารถใช
้เส้นแนวนอนทำนองเดียวกันนี้ไปสร้างภาพขึ้นบนหลอด
เครื่องรับด้วยวิธีการเดียวกันกับการไถ่ร่องมันฝรั่งนั่นเอง


การสาธิตการรับ-ส่งโทรทัศน์ในยุคแรกๆ



ส่วนแนวความคิดในการสร้างหลอดสำหรับส่งสัญญาณนั้น
เขาคิดได้ตั้งแต่เรียนมัธยม และเขียนเป็นแบบไว้ให้กับ
 จัสติน โทลแมน ครูสอนวิชาเคมีของเขา ซึ่งฟิลยกย่องว่าเป็นผู้ให้ความรู้ที่จำเป็นและเป็นแรงบันดาล
ใจให้การคิดค้นของตนสำเร็จได้

ภาพของมนุษย์ภาพแรกสุดที่ ฟิล ฟาร์นสเวิร์ธ ส่งเป็นสัญญาณโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับเมื่อวันท
ี่ 19 ตุลาคม 2472 คือ ภาพของ เอลมา กับ
 คลิฟฟ์ การ์ดเนอร์ น้องชายของเธอ
ดังนั้น นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ร่วมคิดค้นโทรทัศน์เป็น
เครื่องแรกของโลกแล้ว เอลมา ยังได้ชื่อว่าเป็น "ผู้หญิงคนแรกที่ปรากฏตัวในโทรทัศน์" อีกด้วย



แต่เครดิตในฐานะผู้คิดค้นโทรทัศน์เกือบจะไม่ตก
เป็นของสองสามีภรรยา ฟาร์นสเวิร์ธ อย่างที่ควรจะเป็น
เมื่อบริษัท อาร์ซีเอ (เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา)
 อ้างว่า โทรทัศน์นั้นคิดค้นโดย วลาดิเมียร์ ซวอรีกิน หัวหน้าแผนกวิศวกรรมโทรทัศน์ของบริษัท เอลมาต่อสู้อย่าง
ดุเดือดในศาล กระทั่งในปี 2478 ศาลจึงตัดสินเป็นที่สุดให้ยกสิทธิบัตรนี้ให้กับฟาร์นสเวิร์ธ


ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับนักประดิษฐ์คนสำคัญผู้นี้ก็คือ
 ในราวปี 2500 ในยุคที่โทรทัศน์ยุคแรกออกอากาศแล้ว
ฟีโล ฟาร์นสเวิร์ธ กลับไม่ชื่นชอบกับสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอ
ของสิ่งประดิษฐ์ของเขามากนัก เขาเคยบอกในระหว่าง
การออกอากาศทางโทรทัศน์แบบ
ไม่เปิดเผยตัว (ใช้ชื่อ ดร.เอ็กซ์) ว่า เขาเคยคิดค้นสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้ตัวเองอย่างถึงที่สุดมาแล้ว


เครื่องรับโทรทัศน์ของฟาร์นสเวิร์ธในปี 2490



เคนต์ บุตรชายของ ฟิล อธิบายถึงความรู้สึกของผู้เป็นบิดาไว้ว่า "พ่อรู้สึกเหมือนกับว่าได้สร้างปีศาจร้ายตัวหนึ่งขึ้นมา สร้างวิถีที่ทำให้คนเราต้องสูญเสียเวลามหาศาลของชีวิต
ไปกับมัน"

เขาเล่าด้วยว่าตลอดเวลาที่ยังเป็นเด็กนั้น ผู้เป็นบิดามักบอกเสมอว่า "ไม่มีอะไรมีคุณค่าเลยในโทรทัศน์ เราต้องไม่เอามันเข้าบ้าน และฉันไม่ต้องการให้มันเข้ามาอยู่ในหัวสมองของแกด้วย"
นีล โพสต์แมน ศาสตราจารย์วิชา นิเวศวิทยาของสื่อ ในมหาวิทยาลัยแห่งนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาสรุปเอาไว้น่าฟังว่า

ฟิโล เทย์เลอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ นอกจากจะเป็นคนแรกที่สร้างโทรทัศน์ขึ้นมาแล้ว ยังเป็นนักวิจารณ์รายการโทรทัศน์คนแรกๆ ของโลกอีกด้วย 


ที่มา: 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
http://www.oknation.net/blog/bill125/2008/10/22/entry-1