Wednesday, August 3, 2011

ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์ในประเทศไทย



ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีก 3 ช่องดังต่อไปนี้

    สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์)
    สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี)
    สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา)

การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย

    สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 - VHF Band-1 ช่อง 3 (ปัจจุบันออกอากาศในระบบ UHF Band-4 ช่อง 32และระบบ Band-5 ช่อง 60)
    สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก - VHF Band-1 ช่อง 5 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 55 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556)
    สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 - VHF Band-3 ช่อง 7
    สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี - VHF Band-3 ช่อง 9 (ในอนาคต เพิ่มช่องทาง คือการออกอากาศระบบ UHF Band-5 ช่อง 58 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555)
    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - VHF Band-3 ช่อง 11 (ปัจจุบันยังมีสถานีโทรทัศน์เครือข่ายส่วนภูมิภาคออกอากาศเองได้ด้วย)
    สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส - UHF Band-4 ช่อง 29 (รับช่วงในการส่งสัญญาณต่อจากไอทีวีและทีไอทีวี)

คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

    VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
    UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

    VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
    UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

    ระบบวีเอชเอฟ
    ระบบยูเอชเอฟ

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

    ระบบอีเอชเอฟ สำหรับผ่านดาวเทียม

ประเภทอื่น

    เคเบิลทีวี ใช้กับสายไฟเบอร์ออฟติกและดาวเทียม

ประเภทของโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอ โทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัด ให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่ง อาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง
ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ขนาดของโทรทัศน์
Low Definition Television 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p) 6 นิ้ว
Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) 8 นิ้ว
High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) 25 นิ้ว
Extreme High Definition Television 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p) 45 นิ้ว
Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) 50 นิ้ว
Ultra High Definition Television 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p) 100 นิ้ว
  • ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV)
  • เนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 เกือบทั้งหมดฉะนั้นจึงออกอากาศภาพแบบ 16:9 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ยังคงเป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานจนถึง พ.ศ. 2550
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงทั่วโลกเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เท่านั้น
  • UHDTV เป็นโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ปัจจุบันมีการออกอากาศที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เดียวในโลกของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โดยเรียกว่า Super-Hi Vision

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C

No comments:

Post a Comment